วัดมิ่งเมือง นั้นตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นวัดดั้งเดิมที่คาดว่ามีมาตั้งแต่การก่อร่างสร้างเมืองเชียงราย ตามประวัติการก่อสร้าง หรือตามหลักฐานและจากคำบอกเล่าของคนโบราณได้เล่าว่า ผู้ที่สร้างวัดมิงเมืองก็คือ มหาเทวีอุษาปายะโค ซึ่งในตอนนั้นท่านเป็นมเหสีของพ่อขุนเม็งรายฯ ซึ่งท่านเป็นธิดาของกษัตริย์พม่าเมืองหงสาวดี ตามที่ได้ปรากฏในแผ่นทองคำจารึกเป็นภาษาพม่า และวัดมิงเมือง นั้นยังเป็นที่ปฏิธรรมของ พระนางเทพคำขยาย ซึ่งท่านเป็นพระมารดาของพ่อขุนเม็งรายฯ โดยพระองค์จะทรางเสด็จมาปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้อยู่เป็นประจำและยังเป็นสถานที่บรรจุอัฐิของพระองค์อีกด้วย และในวันนี้ เว็บหวยสด จะขอพาทุกท่านไปเที่ยวชมวัดแห่งนี้เองครับ
ความเป็นมาของ วัดมิ่งเมือง
วัดมิงเมือง นั้นตั้งอยู่ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยที่วัดมิงเมือง นั้นมีบ่อน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ ที่ชื่อว่า น้ำบ่อจ๊างมูบ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ มีซุ้มครอบเอาไว้ เป็นประติมากรรมปูนปั้นในรูปช้างหมอบ มีความเชื่อกันว่าบ่อน้ำนี้เป็นบ่อน้ำโบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของผู้คนมาตั้งแต่โบราณ ที่เดินทางสัญจรเข้าออกเมือง จะมาหยุดพักกายบริเวณประตูเมืองเพื่อดื่มน้ำ และล้างหน้าล้างตาเพื่อให้เกิดสิริมงคล ก่อนที่จะเริ่มเดินทางออกหรือ มุ่งเข้าสู่เมืองเชียงราย เท่าที่ หวยสด ทราบ

วัดมิงเมือง นั้นยังมีชื่อเรียกว่า วัดเงี้ยว ตามแบบคนไทใหญ่ หรือที่ชาวเชียงรายเรียกกันว่า วัดจ๊างมูบ (ช้างหมอบ) โดยนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า ในครั้งที่จะทำการอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากเชียงรายไปสู่เมืองเชียงใหม่ ช้างทรงของพระแก้วนั้นได้หมอบคอยอยู่หน้าวัดมิงเมืองแห่งนี้ ก่อนที่จะมีการเคลื่อนขบวนไปยังเมืองเชียงใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านนั้นเรียกวัดแห่งนี้ว่าว่า วัดช้างมูบ ตั้งแต่นั้นมาเมืองเชียงรายก็ได้รกร้าง และก็ได้รับการบูรณะโดยชาวไทใหญ่ที่ได้ถูกกวาดต้อนมาจากนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เพราะก่อนที่จะเริ่มทำการซ่อมแซมวัดจนให้มาเป็นรูปแบบอย่างเช่นปัจจุบันนี้ วัดมิงเมืองได้มีมีรูปทรง และสิ่งก่อสร้างเป็นรูปทรงแบบไทใหญ่ทั้งหมด นอกจากนั้นยังพบศิลปะพม่าในช่วงแรกที่สร้างวัดนี้อีกด้วย
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจภายในวัด
1. องค์พระประธาน
เป็นพระพุทธรูปปั้น ปิดทองลงรักทั้งองค์ เป็นศิลปะแบบเชียงแสนสิงห์ ซึ่งได้มีการซ่อมแซมมาถึง 4 ครั้ง มีอายุราว ๆ 400 กว่าปี โดยครั้งหลังสุดนั้นช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้มีความใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างอยู่ที่ขนาด 80 นิ้ว ซึ่งมีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่สวยสดงดงาม ตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ 1 ยุคต้นโดยเฉพาะที่ส่วนยอดพระเกตุโมฬี นั้นเป็นรูปดอกบัวตูมที่แกะสลักจากหินแก้วจุยเจีย หรือ แก้วโป่งข่าม โดยหินชนิดนี้เกิดขึ้นแค่เพียงดินแดนล้านนาเท่านั้น

2. องค์พระเจดีย์
เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ที่อยู่คู่มากับวัด สร้างด้วยรูปแบบศิลปะล้านนา แต่เดิมนั้นก่อนการบูรณะจะเป็นรูปทรงพม่าทั้งหมด แต่ต่อมานั้นได้รับการบูรณะ ใหม่ โดยทำการสร้างเจดีย์บริวารตั้งไว้ทั้งสี่มุม ประดับด้วยฉัตรศิลปะรูปแบบพม่า ซึ่งชาวบ้านเรียกเจดีย์นี้ว่า “พระธาตุมิ่งเมือง” นอกจากนี้เจดีย์นี้ ยังมีความสำคัญ ก็คือ ได้เป็นที่เก็บรวบรวมประวัติของวัดไว้
3. พระวิหาร
เป็นพระวิหารแบบไทใหญ่ประยุกต์ ที่มีการผสมผสานกับรูปแบบของวิหารอย่างล้านนา ภายในถูกตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง และประกอบด้วยการกรุฝ้าบนเพดานแบบไตรภูมิและบราลีนั้นเป็นรูปหงส์จำนวน 34 ตัว
4. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
ชาวบ้านทั่วไป จะเรียกบ่อน้ำนี้ว่า “น้ำบ่อช้างมูบ” เพราะว่ารูปแบบของการก่อสร้างจะมีหลังคาเป็นรูปซุ้มโขง และประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่อง ซึ่งอยู่ในท่าหมอบ ซึ่งจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยสมัยโบราณนั้น บ่อน้ำแห่งนี้ได้ให้ประโยชน์แก่ชาวชุมชนตลาดเชียงรายอย่างมาก เพราะว่า เป็นบ่อน้ำเพียงแห่งเดียวที่มีอยู่ในบริเวณนี้ ทั้งใช้ในการตักดื่ม และตักไปขาย แถมยังเป็นสถานที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างด้านในเมืองและด้านนอกเมือง เมื่อชาวบ้านเดินทางไกลมาเพื่อจะเข้าเมือง ก็จะพากันแวะพักเพื่อดื่มน้ำที่บ่อนี้ก่อนค่อยเดินทางต่อไป

วัดมิ่งเมือง นั้นเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่ได้รอดพ้นมาจากสมัยสงครามโลก โดยตามประวัติที่มีการจารึกไว้ และเป็นวัดที่อยู่ในเมือง แถมยังไม่ไกลจากหอนาฬิกา ล้านนา ซึ่งภายในวัดนั้นเงียบสงบ สวยงาม และมีบ่อน้ำอันศักสิทธิ์ ให้ประพรมน้ำมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และยังได้เรียนประวัติศาสตร์สมัยล้านนา พร้อมกับมีรูปพญามังราย พระเทวีของพญามังรายอยู่อีกด้วย ถือว่าเป็นวัดเล็ก ๆ ในเมืองเชียงรายที่ Huaysod แนะนำให้ไปเยี่ยมชมเลย
สำหรับท่านที่สนใจอยากจะเป็นส่วนหนึ่งกับเรา สามารถสมัครสมาชิกหวยสด ได้แล้ววันนี้